วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ความรู้เรื่อง ยาแผนโราณ



ยาแผนโบราณ (Traditional Drug)


ยาแผนโบราณ
ยาแผนโบราณ หรือ ยาพื้นบ้าน, ยาสมุนไพร, ยาผีบอก (Traditional drug) หมายถึง ยาที่มุ่ง หมายสําหรับใช้ในการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ หรือการบําบัดโรคสัตวซึ่งอยู่ในตําราแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศ หรือยาที่รัฐมนตรีประกาศเป็นยาแผนโบราณ หรือยาที่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนตํารับยาเป็นแผนโบราณ หรือคือการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ โดยอาศัยความรู้จากตําราหรือการเรียนสืบต่อกันมา อันมิใช่การศึกษาตามหลักวิทยาศาสตร์
ประเทศไทยห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตผลิตยา ขาย หรือนำเข้ายาแผนโบราณ นอกสถานที่ที่ได้กำหนดไว้ในใบอนุญาต เว้นแต่เป็นการขายส่งตรงต่อผู้รับอนุญาตขายยาแผนโบราณ
รูปแบบของยาแผนโบราณ



ยาแผนโบราณ เป็นการนำเอาสมุนไพร (จากพฤกษชาติ สัตว์ หรือแร่) มาผสม ปรุง หรือแปรสภาพ สมุนไพรที่ถูกแปรรูปเป็นยาแผนโบราณจะมีทั้งที่อยู่ในรูปยาน้ำ ยาเม็ด หรือแคปซูล ที่เห็นกันเจนตาคือ อยู่ในรูปของยาลูกกลอนและยาผง
ประเภทของยาแผนโบราณ

ประเภทของยาแผนโบราณ ได้แก่

ก. ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ ได้แก่ ตำรับยาแผนโบราณที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศว่าเป็นยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ ซึ่งจะมี ชื่อ ส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน คำเตือน และขนาดบรรจุ เช่น ยาประสะกระเพรา ยาวิสัมพยาใหญ่ ยาแสงหมึก ยาประสะกานพลู ฯลฯ


ข. ยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ ได้แก่ ตำรับยาแผนไทยและสมุนไพรที่มีการพัฒนาที่ทางคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ ได้คัดเลือกยาแผนไทยและสมุนไพรที่มีข้อมูลการใช้ หรือมีข้อมูลงานวิจัยสนับสนุน ได้แก่ ยาประสะมะแว้ง ยาแก้ไข้ (ยาห้าราก) ยาประสะไพล ขมิ้นชัน ชุมเห็ดเทศ ฟ้าทะลายโจร พญายอ และไพล


ค. ยาสมุนไพรที่ไม่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ได้แก่ สมุนไพรที่มีการวิจัยแล้วว่าให้ผลในการรักษาและมีความปลอดภัย พร้อมที่จะพัฒนาไปเป็นแผนโบราณ
ปัญหายาแผนโบราณที่พบในปัจจุบัน
แม้ว่าจะมีกฎหมายและหน่วยงานที่คอยควบคุมการผลิตและการขายยาแผนโบราณเพื่อคุ้มครองให้ผู้บริโภคปลอดภัยจากการใช้ยาแผนโบราณ แต่ก็ไม่สามารถที่จะขจัดปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นการลักลอบผลิตและขายยาแผนโบราณโดยไม่ได้ขออนุญาตผลิตและขายจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด การขายยาแผนโบราณที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนหรือยาปลอม


อันตรายจากการรับประทานยาแผนโบราณที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนหรือยาปลอม!!!

ในปัจจุบันพบว่า มียาแผนโบราณที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนหรือยาปลอม ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้ เช่น มีการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค หรือการนำสารเคมีที่ไม่ปลอดภัยต่อผู้บริ โภคมาใส่ในยาแผนโบราณ เช่น
  • เมธิลแอลกฮอล์ (Methyl-alcohol) ใช้เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมทำเฟอร์นิเจอร์เช่น สีทาไม้, น้ำมันเคลือบเงา ฯลฯ
  • คลอโรฟอร์ม (Chloroform) ใช้เป็นตัวทำละลายสารโพลีคาร์บอเนตและอื่นๆ
  • การใส่ยาแก้ปวดแผนปัจจุบัน เช่น อินโดเมทาซิน (Indomethazine) หรือแม้แต่การนำยาเฟนิลบิวตาโซน (Phenylbutazone) ซึ่งทั้ง 2 ชนิดเป็นยาแก้ปวด แต่ระคายเคืองต่อทางเดินอาหาร
  • และสเตียรอยด์ซึ่งเป็นยาควบคุมพิเศษซึ่งมีผลข้างเคียงสูง ผสมลงในยาแผนโบราณเพื่อให้เกิดผลในการรักษาที่รวดเร็ว แต่จะทำให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคคือทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และ โรคกระเพาะอาหารอักเสบได้ เป็นต้น
วิธีเลือกซื้อยาแผนโบราณ👇👇👇
เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยาแผนโบราณ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้แนะนำวิธีการเลือกซื้อยาแผนโบราณ ดังนี้
  1. ควรซื้อยาแผนโบราณจากร้านขายยาที่มีใบอนุญาตและที่มีเลขทะเบียนตำรับยา
  2. ไม่ควรซื้อยาแผนโบราณจากรถเร่ขาย เพราะอาจได้รับยาที่ผลิตขึ้นโดยผู้ผลิตที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งอาจมีการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ในระหว่างการผลิต อาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้บริ โภคได้
  3. ก่อนซื้อยาแผนโบราณ ควรตรวจดูฉลากยาทุกครั้งว่า มีข้อความดังกล่าวนี้หรือไม่
    • ชื่อยา
    • เลขที่หรือรหัสใบสำคัญการขึ้นทะเบียนยา
    • ปริมาณของยาที่บรรจุ
    • เลขที่หรืออักษรแสดงครั้งที่ผลิต
    • ชื่อผู้ผลิตและจังหวัดที่ตั้งสถานที่ผลิตยา
    • วัน เดือน ปี ที่ผลิตยา
    • มีคำว่า "ยาแผนโบราณ" ให้เห็นได้ชัดเจน
    • มีคำว่า "ยาใช้ภายนอก" หรือ "ยาใช้เฉพาะที่" แล้วแต่กรณีด้วยอักษรสีแดงเห็นได้ชัดเจน ในกรณีเป็นยาใช้ภายนอก หรือยาใช้เฉพาะที่
    • มีคำว่า "ยาสามัญประจำบ้าน" ในกรณีเป็นยาสามัญประจำบ้าน
    • คำว่า "ยาสำหรับสัตว์" ในกรณีเป็นยาสำหรับสัตว์
วิธีสังเกตเลขทะเบียนตำรับยาแผนโบราณ



วิธีสังเกตเลขทะเบียนตำรับยาแผนโบราณมีดังนี้
  1. หากเป็นยาแผนโบราณที่ผลิตในประเทศ จะขึ้นต้นด้วยอักษร G ตามด้วยเลขลำดับที่อนุญาต/ปี พ.ศ. เช่นเลขทะเบียน G20/42
  2. หากเป็นยาแผนโบราณที่นำเข้าจากต่างประเทศ จะขึ้นต้นด้วยอักษร K ตามด้วยเลขลำดับ ที่อนุญาต/ปี พ.ศ. เช่น เลขทะเบียน K15/42
**** หมายเหตุ:
  • G และ K เป็นการกำหนดตัวอักษรใช้เพื่อสะดวก เพื่อแทนความหมายต่างๆในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับยา ตั้งแต่ A เรื่อยมา
  • ซึ่ง G หมายถึง ขึ้นทะเบียนยาเป็นยาแผนโบราณสำหรับมนุษย์ ผลิตในประเทศ
  • และ K หมายถึง ขึ้นทะเบียนยาเป็นยาแผนโบราณสำหรับมนุษย์ ที่เป็นยานำเข้า
ข้อบ่งใช้ยาแผนโบราณ
ยาแผนโบราณนั้นสามารถใช้รักษาโรคทั่วไปที่ไม่ร้ายแรง เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ ร้อนใน ฯลฯ และการรักษาอาการพื้นฐานที่ไม่รุนแรง ไม่เรื้อรัง เช่น ท้องเสีย/ท้องร่วง ปวดหัว/ปวดศีรษะ ตัวร้อน /เป็นไข้ผื่นคัน เป็นต้น
ข้อห้ามการใช้ยาแผนโบราณ
ถ้าผู้ป่วยที่มีอาการโรคเหล่านี้ ไม่ควรรักษาโรคด้วยยาแผนโบราณ ได้แก่
  • ไข้สูง (ตัวร้อนจัด), ตาแดง, ปวดเมื่อยมาก, ซึม, และเพ้อ
  • ตัวเหลือง, อ่อนเพลียมาก, และอาเจียน
  • ปวดท้องอย่างแรงบริเวณสะดือหรือบริเวณท้องด้านขวาล่าง เวลาเอามือกดเจ็บปวดมากขึ้น หน้าท้องแข็ง อาจมีอาการท้องผูก และมีไข้ร่วมด้วย ซึ่งเป็นอาการของไส้ติ่งอักเสบ
  • ปวดท้องรุนแรงมาก อาจร่วมกับอาการตัวร้อน และคลื่นไส้ อาเจียน เพราะอาจเป็นอาการของกระเพาะอาหารหรือลำไส้ทะลุ
  • อาเจียนเป็นเลือดหรือไอเป็นเลือด เพราะอาจเป็นโรคร้ายแรงของกระเพาะอาหารหรือของปอด
  • ท้องเดินอย่างแรง อุจจาระเป็นน้ำ และอาจมีลักษณะคล้ายน้ำซาวข้าว ถ่ายติดต่อกันตลอด เวลา อ่อนเพลียมาก ตาลึก ผิวหนังแห้ง ซึ่งอาจเป็นอาการของอหิวาตกโรค
  • ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด/เป็นมูกเลือด อุจจาระเป็นน้ำ ถ่ายบ่อยมาก อาจถ่ายถึง 10 ครั้งต่อชั่ว โมง เพลียมาก เพราะอาจเป็นโรคบิด
  • อาการของโรคคอตีบในเด็ก โดยเฉพาะอายุไม่เกิน 12 ปี มีไข้สูง ไอมาก หายใจมีเสียงผิด ปกติคล้ายมีอะไรติดในลำคอ หรือมีอาการหน้าเขียวคล้ำ
  • มีอาการตกเลือดเป็นเลือดสดๆจากอวัยวะใดก็ตามโดยเฉพาะทางช่องคลอด ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที
ข้อแนะนำการใช้ยาแผนโบราณ
ข้อแนะนำการใช้ยาแผนโบราณได้แก่
  • เด็ก: ใช้ได้ในอาการที่ไม่รุนแรง เช่น ยากวาดคอ, ยาหอม, ยาแก้ท้องอืด, ท้องเฟ้อ หรือยาแก้ร้อนใน เป็นต้น
  • หญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร: ไม่แนะนำให้ใช้ยาแผนโบราณ
  • ห้ามใช้ร่วมกับยาเคมีบำบัดในการรักษาโรคมะเร็ง
  • ไม่แนะนำให้ใช้ยาแผนโบราณ ถ้ากำลังรักษาด้วยยาแผนปัจจุบัน
  • ถ้าใช้ยาแผนโบราณแล้ว อาการไม่ดีขึ้นหรือมีผลข้างเคียงเกิดกับผู้ใช้ ควรไปโรงพยาบาลปรึกษาแพทย์แผนปัจจุบัน
  • ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ ๒๘ ขนาน

  • แต่เดิมยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณมีอยู่ ๑๖ ขนาน เมื่อปลายปี ๒๕๓๗ ได้มีประการยกเลิกยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณเดิมทั้ง ๑๖ ขนาน แล้วกำหนดขึ้นมาใหม่ ซึ่งมีตำรับยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณเดิมอยู่ด้วยส่วนหนึ่ง และกำหนดขึ้นมาใหม่เป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งสิ้น ๒๘ ขนาน
    ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณที่กำหนดขึ้นมาใหม่นี้ เป็นยาบรรจุเสร็จการจำหน่ายโดยทั่วไปจะจำหน่ายได้เฉพาะยาที่บรรจุเสร็จตามรายระเอียดและขนาดบรรจุที่กำหนดไว้เท่านั้น
    ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
    เรื่อง ยาสามัญประจำบ้าน ฉบับที่ ๒
    อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๖(๕) แห่งพระราชบัญญัติยา พ.ศ. ๒๕๑๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๒๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยคำแนะนำของคณะกรรมการยา จึงออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
    ข้อ ๑. ให้ยกเลิกประกาศยาแผนโบราณที่เป็นยาสามันประจำบ้านตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ระบุยาสามัญประจำบ้าน ตามความในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. ๒๕๑๐ ลงวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๑๑
    ข้อ ๒. ให้ยาแผนโบราณซึ่งมีชื่อ ปริมาณของวัตถุส่วนประกอบ วิธีทำ สรรพคุณ ขนาดรับประทาน คำเตือนและขนาดบรรจุ ต่อไปนี้ เป็นยาสามัญประจำบ้าน

    ๑. ยาหอมเทพจิตร

    วัตถุส่วนประกอบ

    • ลูกจันทน์ ดอกจันทร์ ลูกกระวาน กานพลู จันทร์แดง จันทน์ขาว กฤษณา กระลำพัก ขอนดอก ชะลูด อบเชย เปราะหอม แฝกหอม หนักสิ่งละ ๒ ส่วน
    • ผิวมะกรูด ผิวมะงั่ว ผิวมะนาว ผิวส้มตะรังกะนู ผิวส้มจีน ผิวส้มโอ ผิวส้มเขียวหวาน หนักสิ่งละ ๔ ส่วน
    • ผิวส้มซ่า หนัก ๒๘ ส่วน ดอกพิกุลทอง ดอกบุญนาค ดอกสารภี เกสรบัวหลวง ดอกบัวขม ดอกบัวเผื่อน หนักสิ่งละ ๔ ส่วน
    • ชะมดเช็ด การบูร หนักสิ่งละ ๑ ส่วน
    • โกศสอ โกฐเขมา โกฐหัวบัว โกฐจุฬาลัมพา โกฐกระดูก โกฐก้านพร้าว โกฐพุงปลา โกฐชฎามังสี หนักสิ่งละ ๔ ส่วน
    • เทียนดำ เทียนแดง เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน เทียนเยาว-ภาณี เทียนสัตตบุตย์ เทียนเกล็ดหอย เทียนตากบ หนักสิ่งละ ๔ ส่วน
    • พิมเสน หนัก ๔ ส่วน ดอกมะลิหนัก ๑๘๔ ส่วน
    วิธีทำ บดเป็นผง ผสมน้ำดอกไม้เทศ ทำเป็นเม็ด หนักเม็ดละ ๐.๒ กรัม
    สรรพคุณ แก้ลม บำรุงหัวใจ
    ขนาดรับประทาน ครั้งละ ๕-๗ เม็ด
    ขนาดบรรจุ ๓๐ เม็ด

    ๒. ยาหอมทิพโอสถ

    วัตถุส่วนประกอบ

    • ดอกพิกุล ดอกบุนนาค ดอกสารภี ดอกมะลิ เกสรบัวหลวง ดอกกระดังงา ดอกบัวจงกลนี หัวแห้วไทย กระจับ ฝาง จันทน์ขาว จันทร์เทศ กฤษณา ชะลูด อบเชย สมุลแว้ง สนเทศ วานน้ำ กระชาย เปราะหอม ดอกคำไทย ชะเอมเทศ สุรามฤต ข่าต้น ลูกจันทน์ หนักสิ่งละ ๔ ส่วน
    • โกฐสอ โกฐเขมา โกฐหัวบัว โกฐเชียง โกฐจุฬาลัมพา โกฐกระดูก โกฐก้านพร้าว โกฐพุงปลา โกฐชฎามังสีหนักสิ่งละ ๒ ส่วน
    • เทียนดำ เทียนแดง เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน เทียนเยาวพาณี เทียนสัตตบุษย์ เทียนเกล็ดหอย เทียนตากบ การบูร หนักสิ่งละ ๑ ส่วน
    • ชะมดเช็ดพิมเสน หนักสิ่งละ ๒ ส่วน
    วิธีทำ ชนิดผง บดเป็นผง ชนิดเม็ด บดเป็นผง ทำเม็ด หนักเม็ดละ ๐.๒ กรัม
    สรรพคุณ แก้ลมวิงเวียน ละลายน้ำดอกไม้ หรือน้ำสุก
    ขนาดรับประทาน ชนิดผง ครั้งละ ๑/๒-๑ ช้อนกาแฟ ชนิดเม็ด ครั้งละ ๕-๗ เม็ด
    ขนาดบรรจุ ชนิดผง ๑๕ กรัม ชนิดเม็ด ๓๐ เม็ด

    ๓. ยามหานิลแท่งทอง

    วัตถุส่วนประกอบ

    • เนื้อในเม็ดสะบ้ามอญสุม กระดูกกาสุม กระดูกงูเหลือมสุม หวายตะค้าสุม เม็ดมะกอกสุม ลูกมะคำดีควายสุม ถ่านไม้สัก จันทร์แดง จันทร์เทศ ใบพิมเสน ใบหญ้านาง หมึกหอม หนักสิ่งละ ๑ ส่วน
    • เบี้ยจั่น คั่วให้เหลือง ๓ เบี้ย
    วิธีทำ บดเป็นผง ทำเป็นเม็ด ปิดทองคำเปลว หนักเม็ดละ ๐.๕ กรัม
    สรรพคุณ แก้ไข้ แก้หระกายน้ำ แก้หัด อีสุก อีใส
    ขนาดรับประทาน รับประทานครั้งละ ๒ ครั้ง ผู้ใหญ่ ครั้งละ ๓-๔ เม็ด เด็ก ครั้งละ ๑-๒ เม็ด
    ขนาดบรรจุ ๓๐ เม็ด

    ๔.ยาเขียวหอม

    วัตถุส่วนประกอบ

    • ใบพิมเสน ใบผักกระโฉม ใบหมากผู้ ใบหมากเมีย ใบสันพร้าหอม รากแฝกหอม จันทร์เทศ จันทน์แดง ว่านกลีบแรด ว่านร่อนทอง เนระพูสี พิษนาศน์ รากไคร้เครือ ดอกพิกุล เกสรบุนนาค เกสรสารภี เกสรัวหลวง หนักสิ่งละ ๑ ส่วน
    • ระย่อม หนัก ๑/๔ ส่วน
    วิธีทำ บดเป็นผง
    สรรพคุณ แก้ตัวร้อน ร้อนใน กระหายน้ำ ละลายน้ำสุก หรือน้ำดอกมะลิแก้พิษหัด พิษสุกใส ละลายน้ำรากผักชีต้มทั้งรับประทานและชโลม
    ขนาดรับประทาน รับประทานวันละ ๔–๖ครั้ง ผู้ใหญ่ ครั้งละ ๑ ช้อนกาแฟ เด็ก ครั้งละ ๑-๒ ช้อนกาแฟ
    ขนาดบรรจุ ๓๐ เม็ด

    ๕.ยาประสะกะเพรา

    วัตถุส่วนประกอบ

    • พริกไทย ขิง ดีปลี กระเทียม น้ำประสานทองสะตุ หนักสิ่งละ ๒ ส่วน ชะเอมเทศ หกากิงคุ์ หนักสิ่งละ ๘ ส่วน
    • เกลือสินเธาว์ หนัก ๑ ส่วน
    • ผิวมะกรูด หนัก ๒๐ ส่วน ใบกะเพรา หนัก ๔๗ ส่วน
    วิธีทำ บดเป็นผง ทำเป็นเม็ด หนักเม็ดละ ๐.๑ กรัม
    สรรพคุณ แก้ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ ละลายนำสุก หรือน้ำใบกะเพราต้มแก้ท้องแน่น จุกเสียด ใช้ไพลเผาไฟพอสุก ฝนแทรก
    ขนาดรับประทาน รับประทาน เช้า เย็น เด็กอายุ ๑-๓ เดือน ครั้งละ ๔-๖ เม็ด
    ขนาดบรรจุ ๓๐ เม็ด

    ๖. ยาเหลืองปิดสมุทร

    วัตถุส่วนประกอบ

    • แห้วหมู ขมิ้นอ้อย เปลือกเพกา รากกล้วยตีบ กระเทียมคั่ว ดีปลี ชันย้อย ครั่ง สีเสียดเทศ สีเสียดไทย ใบเทียน ใบทับทิม หนักสิ่งละ ๑ ส่วน
    • ขมิ้นชัน หนัก ๖ ส่วน
    วิธีทำ บดเป็นผง ทำเป็นเม็ด หนักเม็ดละ ๐.๑ กรัม
    สรรพคุณ แก้ท้องเสีย ใช้น้ำเปลือกลูกทับทิม หรือเปลือกแคต้มกับน้ำปูนใส เป็นกระสาย ถ้าหาน้ำกระสายไม่ได้ ให้ใช้น้ำสุกแทน
    ขนาดรับประทาน รับประทาน วันละ ๓ เวลา ก่อนอาการ เด็กอายุ ๓-๕ เดือน ครั้งละ ๒ เม็ด เด็กอายุ ๖–๑๒ เดือน ครั้งละ ๓-๔ เม็ด เด็กโต ครั้งละ ๕-๗ เม็ด
    นาดบรรจุ ๓๐ เม็ด

    ๗. ยาอำมฤควาที

    วัตถุส่วนประกอบ

    • รากไคร้เครือ โกฐพุงปลา เทียนขาว ลูกผักชีลา เนื้อลูกมะขามป้อม เนื้อลูกมะขามป้อมเนื้อลูกสมอพิเภก หนักสิ่งละ ๗ ส่วน น้ำประสานทองสะตุ หนัก ๑ ส่วน
    • ชะเอมเทศ หนัก ๔๓ ส่วน
    วิธีทำ บดเป็นผง
    สรรพคุณ แก้ไอ ขับเสมหะ ละลายน้ำมะนาวแทรกเกลือ ใช้จิบหรือกวาดคอ
    ขนาดรับประทาน ผู้ใหญ่ ครั้งละ ๑ ช้อนกาแฟ เด็กลดลงตามคอ
    ขนาดบรรจุ ๑๕ กรัม

    ๘. ยาประสะมะแว้ง

    วัตถุส่วนประกอบ

    • สารส้ม หนัก ๑ ส่วน
    • ขมิ้นอ้อย หนัก ๓ ส่วน
    • ใบสวาด ใบตานหม่อน ใบกะเพรา หนักสิ่งละ ๘ ส่วน
    วิธีทำ บดเป็นผง ผสมน้ำสุกแทรกพิมเสนพอควร ทำเป็นเม็ด หนักเม็ดละ ๐.๒ กรัม
    สรรพคุณ แก้ไอ แก้เสมหะ ละลายน้ำมะนาวแทรกเกลือ รับประทานหรือใช้อม
    ขนาดรับประทาน เด็ก ครั้งละ ๑-๒ เม็ด
    ขนาดบรรจุ ๓๐ เม็ด

    ๙. ยาจันทน์ลีลา

    วัตถุส่วนประกอบ

    • โกฐสอ โกฐเขมา โกฐจุฬาลัมพา จันทร์เทศ จันทร์แดง ลูกกระดอม บอระเพ็ด รากปลาไหลเผือก หนักสิ่งละ ๔ ส่วน
    วิธีทำ ชนิดผง บดเป็นผง ชนิดเม็ด บดเป็นผง ทำเป็นเม็ดหนักเม็ดละ ๐.๕ กรัม
    สรรพคุณ แก้ไข้ แก้ตัวร้อน
    ขนาดรับประทาน รับประทานทุก ๔ ชั่วโมง ชนิดผง เด็ก ครั้งละ ๑/๒-๑ ช้อนกาแฟ ผู้ใหญ่ ครั้งละ ๑-๒ ช้อนกาแฟ ชนิดเม็ด เด็ก ครั้งละ ๑-๒ เม็ด ผู้ใหญ่ ครั้งละ ๓-๔ เม็ด
    ขนาดบรรจุ ชนิดผง ๑๕ กรัม ชนิดเม็ด ๓๐ เม็ด

    ๑๐. ยาตรีหอม

    วัตถุส่วนประกอบ

    • เนื้อลูกสมอเทศ เนื้อลูกสมอพิเภก เนื้อลูกมะขามป้อม ลูกผักชีลา หนักสิ่งละ ๔ ส่วน
    • รากไคร้เครือ โกศสอ ชะเอมเทศ น้ำประสานทองสะตุ ลูกซัดคั่ว หนักสิ่งละ ๑ ส่วน
    • เนื้อลูกสมอไทย โกฐน้ำเต้าใหญ่นึ่งสุก หนักสิ่งละ ๒๒ ส่วน
    วิธีทำ บดเป็นผง ทำเป็นเม็ด หนักเม็ดละ ๐.๒ กรัม
    สรรพคุณ แก้เด็กท้องผูก ระบายพิษไข้
    ขนาดรับประทาน รับประทานก่อนอาหารเช้า เด็กอายุ ๑-๒ เดือน ครั้งละ ๒-๓ เม็ดเด็กอายุ ๓-๕ เดือนครั้งละ ๔-๕ เม็ด เด็กอายุ ๖–๑๒ เดือน ครั้งละ ๖-๘ เม็ด

    ๑๑.ยาประสะจันทน์แดง

    วัตถุส่วนประกอบ

    • รากเหมือนคน รากมะปรางหวาน รากมะนาว เปราะหอม โกฐหัวบัว จันทร์เทศ ฝางเสน หนักสิ่งละ ๔ ส่วน
    • เกสรบัวหลวง ดอกบุนาค ดอกสารภี ดอกมะลิ หนักสิ่งละ ๑ ส่วน
    • จันทน์แดง ๓๒ ส่วน
    วิธีทำ บดเป็นผง
    สรรพคุณ แก้ไข้ตัวร้อน กระหายน้ำ ละลายน้ำสุกหรือน้ำดอกมะลิ
    ขนาดรับประทาน รับประทานทุก ๓ ชั่วโมง ผู้ใหญ่ ครั้งละ ๑ ช้อนกาแฟ เด็ก ครั้งละ ๑/๒ ช้อนกาแฟขนาดบรรจุ ๑๕ กรัม

    ๑๒. ยาหอมอินทจักร์

    วัตถุส่วนประกอบ

    • สะค้าน รากช้าพลู ขิง ดีปลี รากเจตมูลเพลิงแดง ลูกผักชีลา โกฐสอ โกฐเขมา โกฐก้านพร้าว โกฐพุงปลา โกฐจุฬาลัมพา โกฐเชียง โกฐกักกรา โกฐน้ำเต้า โกฐกระดูก เทียนดำ เทียนขาว เทียนแดง เทียนข้าวเปลือก เทียนเยาวพาณี จันทน์แดง จันทร์เทศ เถามวกขาว รากหญ้านาง เปลือกสมุลแว้ง กฤษณา กระลำพัก บอระเพ็ด ลูกกระดอม กำยาน ขอนดอก ชะมดเช็ด ลูกจันทน์ ดอกจันทร์ ลูกกระวาน การพลู รากไคร้เครือ ลำพันแดง ดอกสารภี ดอกพิกุล ดอกบนนาค ดอกจำปา ดอกกระดังงา ดอกมะลิ ดอกคำไทย ฝางเสน ดีงูเห่า ดีหมูป่า ดีวัว พิมเสน สิ่งละ ๑ ส่วน
    วิธีทำ ชนิดผง บดเป็นผง ชนิดเม็ด บดเป็นผง ทำเป็นเม็ด หนักเม็ดละ ๐.๒ กรัม
    สรรพคุณ แก้ลมบาดทะจิต ใช้นำดอกมะลิ แก้คลื่นเหียนอาเจียน ใช้น้ำลูกผักชี เทียนดำต้ม ถ้าไม่มีใช้น้ำสุก แก้ลมจุกเสียด ใช้น้ำขิงต้ม
    ขนาดรับประทาน รับประทานทุก ๓ ชั่วโมง ชนิดผง ครั้งละ ๑/๒-๑ ช้อนกาแฟ ชนิดเม็ด ครั้งละ ๕–๑๐ เม็ด
    ขนาดบรรจุ ชนิดผง ๑๕ กรัม ชนิดเม็ด ๓๐ เม็ด

    ๑๓.ยาประสะไพล

    วัตถุส่วนประกอบ

    • ผิวมะกรูด ว่านน้ำ กระเทียม หัวหอม พริกไทย ดีปลี ขิง ขมิ้นออ้ย เทียนดำ เกลือสินเธาว์ หนักสิ่งละ ๘ ส่วน
    • การบูร หนัก ๑ ส่วน
    • ไพล หนัก ๘๑ ส่วน
    วิธีทำ บดเป็นผง
    สรรพคุณ แก้จุกเสียด แก้ระดูไม่ปกติ ขับน้ำคาวปลา
    ขนาดรับประทาน รับประทานวันละ ๓ ครั้ง ก่อนอาหาร ครั้งละ ๑ ช้อนกาแฟ ละลายน้ำสุก หรือน้ำสุรา
    ขนาดบรรจุ ๓๐ กรัม

    ๑๔.ยาหอมนวโกฐ

    วัตถุส่วนประกอบ

    • ขิงแห้ง ดีปลี เจตมูลเพลิงแดง สะค้าน ช้าพลู หนักสิ่งละ ๓ ส่วน
    • แห้วหมู โกฐเชียง โกฐก้านพร้าว โกฐพุงปลา โกฐชฎามังสี เทียนดำ เทียนดำ เทียนแดง เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก เทียนเนาวพาณี เทียนสัตตบุษย์ เทียนเกล็ดหอย เทียนตากบ สักขี ลูกราชดัด ลูกสารพัดพิษ ลูกกระวาน การพลู ดอกจันทน์ ลูกเทศ จันทน์แดง อบเชยญวน เปลือกสมุลแว้ง หญ้าตีนนก แฝกหอม เปลือกชะลูด เปราะหอม รากไคร้เครือ เนื้อไม้ ขอนดอก กระลำพัก เนื้อลูกมะขามป้อม เนื้อลูกสมอพิเภก ชะเอมเทศ ลูกผักชีลา ลูกกระดอม บอระเพ็ด เกสรบัวหลวง เกสรบุนนาค ดอกพิกุล ดอกสารภี ดอกมะลิ แก่นสน หนักสิ่งละ ๔ ส่วน
    • น้ำประสานทองสะตุ หนัก ๒ ส่วน
    • ชะมดเช็ด พิมเสน หนักสิ่งละ ๑ ส่วน
    วิธีทำ ชนิดผง บดเป็นผง ชนิดเม็ด หนักเม็ดละ ๐๒ กรัม
    สรรพคุณ แก้ลมคลื่นเหียน อาเจียน ใช้น้ำลูกผักชี เทียนดำ ต้มแก้ลมปลายไข้ ใช้น้ำสุกแทน
    ขนาดรับประทาน รับประทานทุก ๓ ชั่วโมง ชนิดผง ครั้งละ ๑/๒-๑ ช้อนกาแฟ ชนิดเม็ด ครั้งละ ๕–๑๐ กรัม
    ขนาดบรรจุ ชนิดผง ๑๕ กรัม ชนิดเม็ด ๓๐ เม็ด

    ๑๕. ยาวิสัมพยาใหญ่

    วัตถุส่วนประกอบ

    • ลูกผีกชีลา ลูกจันทร์ ดอกจันทร์ หนักสิ่งละ ๘ ส่วน
    • กระวาน กานพลู โกฐสอ โกฐเขมา โกฐหัวบัว โกฐเชียง โกฐจุฬาลัมพา อบเชย สมุลแว้ง สมอเทศ สมอไทย รากไคร้เครือ ว่านน้ำ บอระเพ็ด ขิงแห้ง พญารากขาว หนักสิ่งละ ๒ ส่วน
    • ดีปลี หนัก ๕๖ ส่วน
    • น้ำประสานทองสะตุ หนัก ๑ ส่วน
    วิธีทำ บดเป็นผง
    สรรพคุณ แก้ท้องขึ้น อืดเฟ้อ จุกเสียด
    ขนาดรับประทาน รับประทานทุก ๔ ชั่วโมง ครั้งละ ๑ ช้อนกาแฟ ใช้น้ำสุกเป็นกระสาย หรือผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอน
    ขนาดบรรจุ ๑๕ กรัม

    ๑๖. ยาธาตุบรรจบ

    วัตถุส่วนประกอบ

    • ขิง โกฐเขมา โกฐพุงปลา โกฐเชียง โกฐสอ เทียนดำ เทียนขาว เทียนสัตตบุษย์ เทียนยาวพาณี
    • เทียนแดง ลูกจันทร์ กานพลู การบูร เปลือกสมุนแว้ง ลูกกระวาน ลูกผักชีลา ใบพิมเสน รากไคร้เครือ ดีปลี เปราะหอม หนักสิ่งละ ๔ ส่วน
    • โกฐก้านพร้าว หนัก ๘ ส่วน
    • เนื้อลูกสมอไทย หนัก ๑๖ ส่วน
    • น้ำประสานทองสะตุ หนัก ๑ ส่วน
    วิธีทำ บดเป็นผง
    สรรพคุณ แก้ธาตุไม่ปกติ ท้องเสีย ใช้เปลือกแค หรือเปลือกสะเดา หรือเปลือกลูกทับทิมต้มกับน้ำปูนใสแก้ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ ใช้กระเทียม 3 กลีบ ทุบชงน้ำร้อน
    หรือใช้ใบกระเพราต้ม เป็นกระสาย ถ้าหาน้ำกระสายไม่ได้ให้ใช้น้ำสุกแทน
    ขนาดรับประทาน รับประทานวันละ ๓ เวลา ก่อนอาหาร ผู้ใหญ่ ครั้งละ ๑ ช้อนกาแฟ เด็ก ครั้งละ ๑ ช้อนกาแฟ
    ขนาดบรรจุ ๑๕ กรัม

    ๑๗. ยาประสานกานพลู

    วัตถุส่วนประกอบ

    • เทียนดำ เทียนขาว โกฐสอ โกฐกระดูก กำมะถันเหลือง การบูร รากไคร้เครือ เปลือกเพกา เปลือกขี้อ้าย ใบกระวาน ลูกผักชีลา แฝกหอม ว่านน้ำ หัวกระชาย เปราะหอม รากแจง กรุงเขมา หนักสิ่งละ ๔ ส่วน
    • รากข้าวสาร เนื้อไม้ ลูกจันทร์ ขมิ้นชัน หนักสิ่งละ ๘ ส่วน ขิงแห้ง ดีปลี หนักสิ่งละ ๓ ส่วน
    • น้ำประสานทองสตุ ไพร เจตมูลเพลิงแดง สะค้าน ช้าพลู หนักสิ่งละ ๒ ส่วน
    • เปลือกซิก หนัก ๑๐ ส่วน
    • พริกไทย หนัก ๑ ส่วน
    • กานพลู หนัก ๑๓๑ ส่วน
    วิธีทำ บดเป็นผง
    สรรพคุณ แก้ปวดท้อง เนื่องจากธาตุไม่ปกติ ใช้ไพลเผาไฟฝนกับน้ำปูนใส หรือใช้น้ำสุกแทน
    ขนาดรับประทาน รับประทานทุก ๓ ชั่วโมง ผู้ใหญ่ครั้งละ ๑ ช้อนกาแฟ
    ขนาดบรรจุ ๑๕ กรัม

    ๑๘. ยาแสงหมึก

    วัตถุส่วนประกอบ

    • หมึกหอม จันทร์ชะมด ลูกกระวาน จันทร์เทศ ใบพิมเสน ลูกจันทร์ กานพลู ใบสันพร้าหอม หัวหอม ใบกระเพรา ดีงูเหลือม หนักสิ่งละ ๔ ส่วน
    • ชะมด พิมเสน หนักสิ่งละ ๑ ส่วน
    วิธีทำ บดเป็นผง ทำเป็นเม็ด หนักเม็ดละ ๐.๒ กรัม
    สรรพคุณ แก้ตัวร้อน ละลายน้ำดอกไม้เทศ แก้ท้องขึ้น ปวดท้อง ละลายน้ำใบกระเพราต้ม แก้ไอ ขับเสมหะ ลาลายน้ำลูก มะแว้งเครือ หรือลูกมะแว้งต้น กวาดคอแก้ปากเป็นแผล แก้ละออง ละลายน้ำลูกเบญกานี ฝนทาปาก
    ขนาดรับประทาน ใช้กวาดคอวันละ ๑ ครั้ง หลังจากนั้นรับประทานทุก ๓ ชั่วโมง เด็กอายุ ๑-๖ เดือน ครั้งละ ๒ เม็ด เด็กอายุ ๗-๑๒ เดือน ครั้งละ ๓ เม็ด
    ขนาดบรรจุ ๑๒ เม็ด

    ๑๙. ยามันทธาตุ

    วัตถุส่วนประกอบ

    • โกฐสอ โกฐเขมา โกฐหัวบัว โกฐเชียง โกฐจุฬาลัมพา เทียนดำเทียนแดง เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน รากไคร้เครือ ลูกผักชีล้อม ลูกผักชีลา การบูร กระเทียม เปลือกสมุลแว้ง เปลือกโมกมัน จันทร์แดง จันทร์เทศ กานพลู ดีปลี รากช้าพลู เถาสะค้าน รากเจตมูลเพลิงแดง พริกไทยล่อน ลูกจันทร์ หนักสิ่งละ ๑ ส่วน
    • ขิง ลูกเบญกานี หนักสิ่งละ ๓ ส่วน
    วิธีทำ บดเป็นผง
    สรรพคุณ แก้ธาตุไม่ปกติ แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ
    ขนาดรับประทาน รับประทานวันละ ๓ ครั้ง ก่อนอาหาร ผู้ใหญ่ครั้งละ ๑ ช้อนกาแฟ ละลาน้ำสุก เด็กครั้งละ ๑ ช้อนกาแฟ ละลายน้ำสุก
    ขนาดบรรจุ ๑๕ กรัม

    ๒๐. ยาไฟประลัยกัลป์

    วัตถุส่วนประกอบ

    • พริกไทยล่อน ขิง ดีปลี กระเทียม หนักสิ่งละ ๔ ส่วน
    • ขมิ้นอ้อย กะทือ ข่า ไพล เปลือกมะรุม หนักสิ่งละ ๕ ส่วน
    • รากเจตมูลเพลิงแดง สารส้ม แก่นเเสมทะเล การบูร ผิวมะกรูด หนักสิ่งละ ๖ ส่วน
    วิธีทำ บดเป็นผง
    สรรพคุณ ขับน้ำคาวปลาในเรือนไฟ ช่วยให้มดลูกเข้าอู่
    ขนาดรับประทาน รับประทานวันละ ๓ ครั้ง ก่อนอาหาร ครั้งละ ๑ ช้อนกาแฟ ละลายน้ำสุก หรือน้ำสุรา
    ขนาดบรรจุ ๑๕ กรัม

    ๒๑. ยาไฟห้ากอง

    วัตถุส่วนประกอบ

    • รากเจตมูลเพลิงแดง ขิง พริกไทยล่อน สารส้ม ฝักส้มป่อย หนักสิ่งละ ๑ ส่วน
    วิธีทำ บดเป็นผง
    สรรพคุณ ขับน้ำคาวปลาในเรือนไฟ
    ขนาดรับประทาน รับประทานวันละ ๓ ครั้ง ก่อนอาหาร ครั้งละ ๑ ช้อนกาแฟ ละลายน้ำสุก หรือน้ำสุรา
    ขนาดบรรจุ ๑๕ กรัม

    ๒๒.ยาประสะเจตพังคี

    วัตถุส่วนประกอบ

    • ดอกจันทร์ ลูกจันทร์ ลูกกระวาน ใบกระวาน กานพลู กรุงเขมา รากไคร้เครือ การบูร ลูกสะมอทะเล พญารากขาว เปลือกหว้า เกลือสินเธาว์ หนักสิ่งละ ๑ ส่วน
    • พริกไทยล่อน บอระเพ็ด หนักสิ่งละ ๒ ส่วน
    • ข่า หนัก ๑๖ ส่วน
    • ระย่อม หนัก ๒ ส่วน
    • เจตพังคี หนัก ๓๔ ส่วน
    วิธีทำ บดเป็นผง
    สรรพคุณ แก้กระษัยจุกเสียด
    ขนาดรับประทาน รับประทาน เช้าและเย็น ก่อนอาหาร ครั้งละ ๑ ช้อนกาแฟ ละลายน้ำสุก
    นาดบรรจุ ๑๕ กรัม

    ๒๓. ยาธรณีสันฑะฆาต

    วัตถุส่วนประกอบ

    • ลูกจันทร์ ดอกจันทร์ ลูกกระวาน กานพลู เทียนดำ เทียนขาว หัวดองดึง หัวบุก หัวกลอย หัวกระดาดขาว หัวกระดาดแดง ลูกเร่ว ขิง ชะเอมเทศ รากเจตมูลเพลิงแดง โกบกระดูก โกฐเขมา โกฐน้ำเต้า หนักสิ่งละ ๑ ส่วน
    • ผักแพวแดง เนื้อลูกมะขามป้อม หนักสิ่งละ ๒ ส่วน เนื้อลูกสมอไทย มหาหิงคุ์ การบูร หนักสิ่งละ ๖ ส่วน
    • รงทอง (ประสะแล้ว) หนัก ๔ ส่วน
    • ยาดำ หนัก ๒๐ ส่วน
    • พริกไทยล่อน หนัก ๙๖ ส่วน
    วิธีทำ บดเป็นผง
    สรรพคุณ แก้กระษัยเส้น เถาดาน ท้องผูก
    ขนาดรับประทาน รับประทาน วันละ ๑ ครั้ง ก่อนอาหารเช้า หรือก่อนนอน ครั้งละ ๑ ช้อนกาแฟ ลาลายน้ำสุก หรือผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอน
    คำเตือน คนเป็นไข้ หรือ สตรีมีครรภ์ ห้ามรับประทาน
    ขนาดบรรจุ ๑๕ กรัม

    ๒๔. ยาบำรุงโลหิต

    วัตถุส่วนประกอบ

    • ขิงแห้ง ดีปลี เจตมูลเพลิงแดง สะค้าน ช้าพลู ขมิ้นเครือ เถามวกแดง กำลังวัวเถลิง ดอกสารถี ดอกพิกุล ดอกบุนนาค เกสรบัวหลวง หนักสิ่งละ ๒ ส่วน
    • ดอกจันทร์ ลูกจันทร์ ลูกกระวาน กานพลู เทียนดำ เทียนแดง เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน โกฐสอ โกฐเขมา โกฐหัวบัว โกฐเชียง โกฐจุฬาลัมพา เนื้อลูกสมอไทย เนื้อลูกสมอดีงู เนื้อลูกสมอพิเภก เปลือกชะลูด เปลือกอบเชยเทศ จันทร์แดง แก่นแสมสาร แก่นแสมทะเล กฤษณา หนักสิ่งละ ๑ ส่วนครึ่ง หนัก ๘ ส่วน
    • ฝาง ดอกคำไทย หนักสิ่งละ ๑๐ ส่วน
    วิธีทำ บดเป็นผง
    สรรพคุณ บำรุงโลหิต
    ขนาดรับประทาน รับประทานวันละ ๒ ครั้ง เช้า-เย็น ก่อนอาหาร ครั้งละ ๑ ช้อนกาแฟ
    ขนาดบรรจุ ๓๐ กรัม

    ๒๕. ยาประสะเปราะใหญ่

    วัตถุส่วนประกอบ

    • โกฐสอ โกฐเขมา โกฐเชียง โกฐจุฬาลัมพา เทียนดำ เทียนแดง เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน ลูกจันทร์ ดอกจันทร์ ลูกกระวาน กานพลู จันทร์เทศ จันทร์แดง ดอกบุนนาค ดอกสารภี ดอกพิกุล เกสรบัวหลวง หนักสิ่งละ ๑ ส่วน
    • เปราะหอม หนัก ๒๐ ส่วน
    วิธีทำ บดเป็นผง
    สรรพคุณ ถอนผิดไข้ตานทรางสำหรับเด็ก ละลายน้ำดอกไม้เทศ หรือ น้ำสุกรับประทานหรือผสมน้ำสุราสุมกระหม่อม
    ขนาดรับประทาน รับประทานทุกสามชั่วโมง ครั้งละ ๑ ช้อนกาแฟ
    ขนาดบรรจุ ๑๕ กรัม

    ๒๖. ยามหาจักรใหญ่

    วัตถุส่วนประกอบ

    • โกฐสอ โกฐเสมา โกฐพุงปลา โกฐก้านพร้าว โกฐกระดูก เทียนดำ เทียนแดง เทียนขาว เทียนขาวเปลือกเทียนเยาวพาณี สมอไทย (เอาแต่เนื้อ) ลูกจันทน์ ลูกกระวาน กานพลู ชะเอมเทศ เมล็ดโหรพา ลูกผักชีลา สารส้ม ดินประสิว ขมิ้นอ้อย หัวกระเทียม หนักสิ่งละ ๑ ส่วน
    • ยาดำสะตุ หนัก ๔ ส่วน
    • ใบกระพังโหม หนัก ๓๐ ส่วน
    วิธีทำ บดเป็นผง ทำเป็นเม็ด หนักเม็ดละ ๐.๕ กรัม
    สรรรพคุณ แก้ลมทราง แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ
    ขนาดรับประทาน เด็กอายุต่ำกว่า ๕ ขวบ รับประทานครั้งละ ๑-๓ เม็ด เพิ่มและลดได้ตามส่วน รับประทานกับน้ำสุก ก่อนอาหาร เช้า-เย็น
    ขนาดบรรจุ ๑๐ เม็ด

    ๒๗. ยาเนาวหอย

    วัตถุส่วนประกอบ

    • กระดูกเสือเผา กระดูกโคเผา กระดูกแพะเผา กระดูกงูเหลือมเผา หนักสิ่งละ ๑ ส่วน
    • เปลือกหอยขมเผา เปลือกหอยแครงเผา เปลือกหอยตาวัวเผา เปลือกหอยพิมพการังเผา เปลือกหอยจุ๊แจงเผา เปลือกหอยมุกเผา เปลือกหอยสังข์เผา หนักสิ่งละ ๒ ส่วน
    • รากทนดี (ตองแตก) หนัก ๓ ส่วน
    • รากเจตมูลเพลิงแดง หัสคุณเทศ หนักสิ่งละ ๔ ส่วน
    • พริกไทยล่อน หนัก ๓๒ ส่วน
    วิธีทำ บดเป็นผง
    สรรพคุณ แก้กระษัยจุกเสียด
    ขนาดรับประทาน รับประทานวันละ ๒ ครั้ง ก่อนอาหารเช้า-เย็น ครั้งละ ๑ ช้อนกาแฟผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอน
    ขนาดบรรจุ ๑๕ กรัม

    ๒๘. ยาถ่าย

    วัตถุส่วนประกอบ

    • ใบมะกา ใบมะขาม ใบส้มป่อย หญ้าไทร ใบไผ่ป่า ฝักคูณ รากขี้กาแดง รากขี้กาขาว รากตองแตก เถาวัลย์เปรียง หัวหอม ฝักส้มป่อย สมอไทย สมอดีงู หนักสิ่งละ ๑ ส่วน
    • ขี้เหล็กทั้ง ๕ หนัก ๑ ส่วน
    • ยาดำ หนัก ๔ ส่วน
    • ดีเกลือฝรั่ง หนัก ๒๐ ส่วน
    วิธีทำ บดเป็นผง ทำเป็นเม็ด หนักเม็ดละ ๐.๕ กรัม
    สรรพคุณ แก้ท้องผูก
    ขนาดรับประทาน รับประทานวันละ ๑ ครั้ง ก่อนนอน ครั้งละ ๒-๕ เม็ด ตามธาตุหนักเบา
    ขนาดบรรจุ ๑๐ เม็ด
    ข้อ ๓. ยาสามัญประจำบ้าน ที่ได้ขึ้นทะเบียนตำหรับยาไว้ก่อนประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ ยังเป็นยาสามัญประจำบ้านต่อไปได้ ภายในกำหนด 180 วันนับแต่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ
    ข้อ ๔. ให้ผู้รับอนุญาตผลิตนำหรือสั่งยาเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งยาแผนโบราณที่มีตำหรับยาตามประกาศฉบับนี้ และได้ขึ้นทะเบียนตำหรับยาไว้ก่อน ที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ที่ประสงค์จะให้ตำหรับยานั้น เป็นยาสามัญประจำบ้าน โดยไม่ต้องขอขึ้นทะเบียนตำหรับยาใหม่ ขอแก้ไขรายการทะเบียนตำหรับยา ภายในกำหนด ๑๘๐ วัน นับแต่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ
    ข้อ ๕. ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
    ประกาศ ณ วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2537
    อาทิตย์ อุไรรัตน์
    (นายอาทิตย์ อุไรรัตน์)
    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุ





แหล่งข้อมูล
1. http://thaiherbmedicine.wordpress.com/คลังข้อมูล/ยาแผนโบราณ/ความหมายของยาแผนโบราณ/ [2014,Aug9]
2.http://arts.kmutt.ac.th/ssc210/Group%20Project/ASSC210/healt%20at%20kmutt/homepage/medicine.html[2014,Aug9]
3. http://www.dek-d.com/board/view/572437/ [2014,Aug8]
4. http://www.pharmacy.cmu.ac.th/web2553/n45.php [2014,Aug9]
5. http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=7fe91131aec77346 [2014,Aug9]
6. http://www.tistr.or.th/tistrblog/?p=909 [2014,Aug9]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น